รอบรู้เรื่องแผ่นสะท้อนความร้อน
ตอนนี้เป็นตอนย่อยตอนที่ 2 นะครับ
เกี่ยวกับเรื่อง "แผ่นสะท้อนความร้อน"
ในตอนนี้ขอนำเสนอในรูปแบบคำถามและคำตอบครับ :)
Q: วัสดุที่ใช้ทำแผ่นสะท้อนความร้อน คือ อะไร?
วัสดุหลัก คือ อลูมินั่มฟอยล์ บางยี่ห้ออาจมีหลายชั้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงไม่ให้ขาดง่าย
และอาจ มีบางยี่ห้อ ใช้เมทัลไลท์ ฟิล์ม ทำครับ วัสดุนี้ถ้านึกไม่ออกให้นึกถึง ซองมาม่าครับ แบบเดียวกัน ไม่แนะนำให้ซื้อครับ เพราะไม่ทน ;p
รูปตัวอย่างเมทัลไลท์ ฟิล์ม เมื่อถูกแดด
Q: แผ่นสะท้อนความร้อนนิยมใช้ในต่างประเทศ หรือ ไม่?
นิยมใช้ครับ เมืองนอกจะเรียกว่า "Radiant Barrier" แปลว่า ตัวกั้นการแผ่รังสี ซึ่งผมว่า ชื่อตรงกว่าของพี่ไทยเราอีกนะ
Q: หลักการทำงานต่างจากฉนวนใยแก้ว หรือ ไม่? อย่างไร?
-ฉนวนใยแก้วทำงานด้วยการหน่วงความร้อน เนื่องจากฉนวนจะมีช่องว่างอากาศเล็กๆเป็นจำนวนมาก
ซึ่งเป็น อากาศนิ่ง ทำให้ความร้อนส่งผ่านได้ยากครับ (ดูรูปประกอบ ด้านล่าง)
-ส่วนแผ่นสะท้อนความร้อน อาศัยความเงาของแผ่นเพื่อสะท้อนแสงและความร้อน ทำให้แผ่รังสีความร้อนต่ำกว่าวัสดุที่ผิวไม่เงา (เรื่องนี้ได้อธิบายไว้ละเอียดใน ตอนที่ 6)
รูปแสดงการทำงานของฉนวนใยแก้ว
รูปแสดงการทำงานของแผ่นสะท้อนความร้อน
Q: ตัวเลขที่โฆษณาว่าสะท้อนความร้อน 95% หรือ 97% จริงหรือไม่? อย่างไร?
ตัวเลขนั้น คือ เปอร์เซนต์สะท้อนของ แสงและความร้อน ครับ เพราะแสงอาทิตย์ประกอบด้วย UV, VL ,IR ซึ่ง UV บางช่วงนั้น ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความร้อนครับ อย่าลืม!
รูปประกอบ
Q: การติดตั้งทำได้อย่างไร?
ทำได้ 2 วิธี
-ติดตั้งบนแป
-ติดตั้งใต้แป
หากเป็นแผ่นสะท้อนความร้อนที่เงาเพียงด้านเดียว ให้หันด้านเงาลงด้านล่างครับ
การติดตั้งใต้แป (รูปจากคลิปอุปกรณ์หลังคา ตราช้าง บนยูทูป)
Q: การติดตั้งบนแปและใต้แปอย่างไหนดีกว่ากัน?
ใต้แปครับ ซึ่งจะอธิบายต่อไป..
Q: แผ่นสะท้อนความร้อนมีค่า R เท่าไร?
แผ่นสะท้อนความร้อน ตัวแผ่นเองไม่มีค่า R ครับ หรือหากมีก็ต่ำมากๆๆๆ ใกล้เคียง 0
แต่เวลาเราคำนวณค่า R ของแผ่นสะท้อนความร้อน เราจะคำนวณจากช่องว่างอากาศครับ กล่าวคือ..
ดูรูปบนครับ
ผมแทนสีส้ม คือ วัสดุทั่วไปที่ไม่เงามันนะครับ ส่วนสีฟ้า คือ ผิวเงามัน
-หากช่องว่างอากาศของผนัง หรือหลังคา เป็นวัสดุไม่เงามัน ค่า R จะต่ำ
-หากช่องว่างอากาศของผนัง หรือหลังคา มีด้านใด ด้านหนึ่ง หรือ ทั้ง 2 ด้าน เงามัน ค่า R จะสูงขึ้น
(เราจะเรียกช่องว่างอากาศแบบนี้ว่า Reflective Air Space)
-และหากช่องว่างอากาศนั้นกว้างขึ้น ค่า R ก็จะสูงขึ้นครับ
ดังนั้น คำถามข้อที่แล้ว ปูบนแป หรือ ใต้แปจะดีกว่ากัน
ตอบ คือ ใต้แป นะครับ เพราะพื้นที่ระหว่างใต้กระเบื้องกับแผ่นจะเยอะกว่าครับ ทำให้ค่า R สูงกว่า Y มากกว่า X
Q. อลูมินั่มฟอยล์ที่หุ้มฉนวนใยแก้วก็จัดเป็นแผ่นสะท้อนความร้อน ใช่หรือไม่?
ใช่แล้วครับ ตามหลักการ คือ ทำให้เกิด Reflective Air Space ค่า R สูงขึ้น การแผ่รังสีความร้อนภายในโถงน้อยลง
Q. สรุปแล้ว แผ่นสะท้อนความร้อน หรือ ฉนวนใยแก้ว อย่างไหนกันร้อนได้ดีกว่ากัน??
ตามรูปครับ อันไหน R เยอะกว่า ก็ชนะไป ครับ ^^
จบบริบูรณ์