ห่างหายกันไปนานพอสมควรครับ
เนื่องจากตอนนี้ผมกำลังเซตอัพธุรกิจส่วนตัว ที่ชื่อ ZEN ACOUSTIC ครับ
รับงานออกแบบ ให้คำปรึกษาด้านอะคูสติก ทำห้องซ้อมดนตรี ห้องโฮมเธียเตอร์ ห้องประชุม ทำห้องกันเสียง แบบครบวงจรครับ สนใจติดต่อได้นะครับ www.zen-acoustic.com ^^
ทีนี้มาเข้าเรื่องของเรากันต่อครับ
ในตอนนี้มาดูเรื่องของการรดน้ำบนหลังคาด้วยสปริงเกอร์กันครับ
ว่าจะช่วยลดความร้อนได้ผลหรือไม่ อย่างไร?
ติดตามอ่านกันครับ...
ตามทฤษฎีแล้ว เมื่อน้ำโดนแดด จะระเหยเป็นไอ (Evaporation) และให้ความเย็นออกมาจริง ครับ
แต่เรามาดูกันว่าจะลดอุณหภูมิได้มากแค่ไหนครับ
ซึ่งในตอนนี้ ผมขออ้างอิงถึงงานวิจัยของคุณแสงทิพย์ นิรุตติรัตน์ นะครับ
เรื่อง "ประสิทธิผลการทําความเย็นดวยการระเหยของนํ้า : หลังคาเขียว"
ซึ่งหากใครต้องการอ่านผลวิจัยตัวเต็มได้ >>โหลดได้ที่นี่ ครับ
ในงานวิจัยนี้ คุณแสงทิพย์ได้ทำการทดลอง หลังคา 3 ประเภท คือ หลังคาดิน หลังคาหญ้า และหลังคาไม้เลื้อย
โดยทำการรดน้ำ 2 ช่วง เวลา (เช้า เย็น) และ 3 ช่วงเวลา (เช้า กลางวัน เย็น) ครับ
โดยทำการเก็บอุณหภูมิตลอด 2 วัน 48 ชม. ครับ
ผลที่ได้ สรุปดังนี้:
จากข้อมูลทั้ง 2 ตาราง จะพบว่า...
หลังคาดินหนา 10 ซม. จะลดความร้อนได้ดีที่สุด คือ ลดลง 4.11 องศาเซลเซียส ในช่วงเช้า และลดลง มากถึง 5.09 องศาเซลเซียสในช่วงบ่าย ดีกว่าหลังคาหญ้า และหลังคาไม้เลื้อย
(อุณหภูมิที่ลดลงเทียบจากอุณหภูมิหลังคาคอนกรีต)
ทีนี้ จากข้อมูลงานวิจัยดังกล่าว หากเราเอาน้ำไปรด บนหลังคาคอนกรีตซีแพคโมเนีย หลังคาบ้านทั่วไป ที่มีความหนาเพียง 2-3 ซม. และไม่อมน้ำมากเท่าดิน
แน่นอนครับว่าคงลดอุณหภูมิได้น้อยกว่า หลังคาดิน หรือ หลังคาหญ้าแน่ๆครับ คือ คาดว่าน่าจะลดลงไม่ถึง 5 องศาเซลเซียสครับ
ดังนั้น ขอสรุปเรื่องการติดสปริงเกอร์รดน้ำบนหลังคาดังนี้
1. การรดน้ำบนหลังคา ลดอุณหภูมิได้จริง
2. แต่ลดได้ค่อนข้างน้อย คาดว่าไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส
3. นอกนั้นยังต้องระวังเรื่องน้ำรั่ว และผิวหรือสีกระเบื้องเสีย จากการระเหยของน้ำบ่อยๆด้วยครับ
ใครจะทำก็ลองคิดพิจารณาให้ดีนะครับ ว่าคุ้มค่าหรือไม่ครับ :)
จบตอนที่ 13