วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปการกันความร้อนที่หลังคา

สรุปการกันความร้อนที่หลังคา

หลังจากที่เขียนมาหลายตอนแล้วเกี่ยวกับ การกันร้อนที่หลังคา
ในตอนนี้มาดู สรุปเรื่องการกันร้อนที่หลังคา กัน
แบบที่ว่า อ่านเพียงแค่ตอนเดียว ก็รู้เรื่องครับ :)



1. หลังคาบ้านในประเทศไทยทุกหลัง ควรมีฉนวนครับ โดยฉนวนนั้นจะเป็นโฟม หรือ ใยแก้ว หรือ ใยประเภทอื่นๆ ก็ได้ ที่สำคัญคือ เลือกที่ ค่า R สูงๆ เข้าไว้ครับ จะกันร้อนได้ดี


สรุปการกันความร้อนที่หลังคา




2. ฉนวนหนากว่าจะกันร้อนได้ดีกว่าฉนวนที่บางๆครับ  ค่า R แปรผันตามความหนา ยิ่งหนา ยิ่งค่า R สูง

สรุปการกันความร้อนที่หลังคา




3. การใช้อลูมินั่มฟอยล์ หากต้องการให้ได้ผลดี ต้องหันด้านเงาเข้าหาช่องว่างอากาศที่กว้างๆ อย่างในรูปหันด้านเงาลงจะดีกว่าเพราะ Y กว้างกว่า X

หากเป็นชนิดที่เงา 2 ด้าน ก็ควรหาวิธีติดตั้งให้มีช่องว่างระหว่างกระเบื้องกับแผ่นฟอยล์เยอะหน่อย จะได้ประสิทธิภาพการกันร้อนที่ดีขึ้นครับ


สรุปการกันความร้อนที่หลังคา


4. ฝ้าชายคาระบายอากาศ ตามทฤษฎีแล้ว การมีช่องระบายอากาศ หรือระบบระบายอากาศที่หลังคา จะลดความร้อนได้ประมาณ 25 % ครับ ทั้งนี้ขึ้นกับพื้นที่ช่องและความเร็วลมด้วยนะครับ


สรุปการกันความร้อนที่หลังคา


5. มุมหลังคา ชันกว่า จะช่วยลดความร้อนได้ดีกว่าครับ ดังรูปกราฟฟิกด้านล่าง หลังคามุมสูงๆ ชันๆ ในบางช่วงเวลาจะช่วยบังแดดได้ครับ หลังคาจะไม่ร้อนทั้ง 2 ด้านแบบหลังคามุมต่ำๆที่โดนแดดตลอดเวลา
สรุปการกันความร้อนที่หลังคา




6. สีหลังคา กระเบื้องหลังคาสีอ่อนจะช่วยลดความร้อนได้ดีกว่าสีเข้มครับ

สรุปการกันความร้อนที่หลังคา



7. การติดสปริงเกอร์ที่หลังคา จากงานวิจัย พบว่า ลดความร้อนได้ 1-5 องศาเซลเซียส หากหลังคาเป็นวัสดุที่ดูดซับน้ำได้ดี

แต่กระเบื้องคอนกรีตทั่วไปที่เราใช้กันนั้น การดูดซับน้ำไม่ได้ดีมากนัก อุณหภูมิที่ลดลงคาดว่าลดลงได้ไม่มากถึง 5 องศาแบบงานวิจัย ที่เค้าใช้หลังคาดิน หรือ หญ้า มาทดสอบ ครับ แต่ก็คงลดลงได้บ้าง

และที่สำคัญหากใครสนใจใช้วิธีนี้ ต้องระวังเรื่องการรั่วซึมของน้ำด้วยนะครับ

สรุปการกันความร้อนที่หลังคา


ในตอนนี้ ผมก็ได้ทำการสรุปเรื่อง "การกันร้อนที่หลังคา" แล้วนะครับ ทั้งหมด 7 ข้อด้วยกัน
ใครที่กำลังสร้างบ้านใหม่ หรือ มีปัญหาบ้านร้อน ก็ลองนำวิธีที่แนะนำไปใช้กันดูนะครับ
หวังว่าจะมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ :)


จบตอนที่ 14